สุนัขกับอาการไตวาย ภัยร้ายที่รักษาได้หากรู้ทัน!

 
โดยปกติแล้ว ไตของมนุษย์ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ไตของสุนัขก็เช่นค่ะ ไตของสุนัขช่วยกำจัดของเสียในเลือด ปรับความสมดุลให้กับแร่ธาตุและของเหลวภายในร่างกาย หากเกิดความเสียหายใดๆขึ้นกับไต นั่นก็หมายความว่าสุนัขเป็นโรคไตนั่นเองค่ะ ว่าแต่ถ้าสุนัขเป็นโรคไต เจ้าของสุนัขจะรู้ได้อย่างไร แล้วจะมีวิธีดูแลสุนัขโรคไตได้ยังไงบ้าง วันนี้ครูโจอี้มีข้อมูลดีๆมาฝากกันค่ะ
 
 
 
 

โรคไตในสุนัขเกิดจากอะไร?

โรคไตในสุนัขเกิดจากการที่ไตของสุนัขถูกทำ หากความความเสียหายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถเยียวยาได้ ซึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยร้ายแรงของโรคจะปรากฏให้เห็นก็ต่อเมื่อการทำงานของไตสูญเสียไปแล้วกว่า 75 % เท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า การตรวจพบโรคเร็วที่สุดจะสามารถบรรเทาอาการหนักให้เป็นเบาลงได้ และมีสุนัขมากมายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

สุนัขที่อายุมากกว่า 5 ปี ในสหรัฐอเมริกา ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคไตวายถึง 20% ซึ่งถือเป็นสาเหตุการตายมากกว่าสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาการไตวายของสุนัขนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

ไตวายเฉียบพลัน

กาการไตวายเฉียพลัน เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน รวดเร็ว เช่น เสียเลือดมาก, ช็อค, เครียดจากการผ่าตัด, ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว, ได้รับสารพิษที่มีผลต่อไต, ได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

ไตวายเรื้อรัง

อาการไตวายเรื้อรังเกิดจากการที่ระบอื่นๆในร่างกายทำให้ไตเกิดความเสียหายที่ละเล็กน้อย หรือเกิดขึ้นหลังจากเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษา
 
 

สัญญาณ โรคไตในสุนัข

เจ้าของสุนัขจะรู้ได้อย่างไรว่า สุนัขเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ ให้ทุกคนลองสังเกตุอาการต่างเหล่านี้ดูค่ะ หากสุนัขของคุณมีอาการต่างๆเหล่านี้ให้รีบพาสุนัขไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หากเข้าข่ายเป็นโรคไตจะได้รักษาได้ทันท่วงที
  • กระหายน้ำและปัสสาวะมากขึ้น
  • ความอยากอาหารลดลง
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ลมหายใจเหม็น
  • อาเจียนและท้องเสีย
  • เจ็บปาก
  • อ่อนเพลีย
  • อิดโรยและนอนมากขึ้น
  • ขนไม่เงางาม
  • ซึมเศร้า
 
 
 
 

อาการโรคไตในสุนัข

สุนัขโรคไตจะมีอาการต่างดังนี้
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ซึม
  • ปัสสาวะบ่อย หรือ ไม่ปัสสาวะ
  • ขนร่วง
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • เหงือกซีด

เมื่อ 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อไตถูกทำลาย ของเสียที่ควรจะต้องถูกไตขับออกจากร่างกายยังคงค้างอยู่ในกระแสเลือดของสุนัข อาการต่างๆข้างต้นจึงจะปรากฏให้เห็นชัดเจน

 
 
 
 

การดูแลสุนัขโรคไต

สุนัขที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าสุนัขที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลันแต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สุนัขที่เป็นโรคไตควรมีการตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อประเมินการทำงานของไต และที่สำคัญสุนัขควรได้รับการดูแลเพื่อบรรเทาอาการทรมานอันเกิดจากโรค หากสุนัขมีอาการดีขึ้น เจ้าของสามารถดูแลสุนัขโรคไตได้เองดังนี้
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เกิดความเครียด
  • จัดให้มีน้ำสะอาดกินตลอดเวลา
  • ดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ควรให้อาหารแมวและอาหารหมาโรคไตเท่านั้น (อ่านบทความ สูตรอาหารสำหรับสุนัขโรคไต ปรุงเองได้ ง่ายๆ ที่บ้าน!)
  • จำกัดการออกกำลังกาย
  • พาไปพบสัตวแพทย์เมื่อถึงเวลานัด
  • รายงานสิ่งต่างๆให้สัตวแพทย์ทราบ
 

Pin It on Pinterest