หากสัตว์แพทย์วินิฉัยและพบว่าสุนัขเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข หรือ โรคไข้เห็บ จะทำการรักษาตามอาการโดยการให้ยาฆ่าพยาธิในเม็ดเลือด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเป็นระยะ และต้องติดตามผลต่ออีก 6 เดือน ถึง 1 ปี
มากกว่าการรักษาคือการป้องกันโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข
กรณีที่สุนัขแสดงอาการแบบเรื้อรัง คุณอาจจะมีพอมีเวลารักษา แต่ในกรณีที่สุนัขของคุณแสดงอาการของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขแบบเฉียบพลัน น้อยครั้งที่สัตวแพทย์จะสามารถยื้อชีวิตของสุนัขไว้ได้ ฉะนั้นแล้วครูโจอี้คิดว่า เราอย่าปล่อยให้สุนัขของเราไปถึงขั้นของการแสดงอาการเลยดีกว่าค่ะ เพราะจริงๆแล้วเราทุกคนรู้แล้วว่า พาหะของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขก็คือเจ้าเห็บหมัดตัวดีนี่เอง หากเราป้องกันสุนัขของเราจากเห็บหมัดได้ โอกาสที่สุนัขของเราจะเป็นโรคต่างๆที่เกิดจากเห็บหมัดก็จะลดน้อยลงไปด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถตรวจเช็คอาการของสุนัขว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขหรือไม่โดยการพาสุนัขไปตรวจเลือดเป็นประจำ ก็ถือเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่งนะคะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ เจ้าเห็บหมัดบนตัวสุนัขอันตรายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะ นอกจากจะกัดและดูดเลือดสุนัขของเราแล้วยังเป็นพาหะของโรคร้ายอีกด้วย อ่านบทความนี้จบแล้ว กลับไปตรวจเช็คเห็บหมัดบนตัวสุนัขของคุณกันด้วยนะคะ และที่สำคัญอย่าลืมพาสุนัขไปตรวจเลือดเป็นประจำ สำหรับวันนี้ครูโจอี้ขอลาไปก่อน บทความเรื่องหน้าครูโจอี้จะเอาเกร็ดความรู้ดีๆเรื่องอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ติดตาม
เห็บหมัด กับ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข เกี่ยวข้องกันอย่างไร ใครเลี้ยงสุนัขต้องอ่าน! เวอชั่นวีดีโอได้ที่นี่