น้องหมากลัวเสียงฟ้าร้อง เสียงพลุ เสียงประทัด ทําไงดี? 7 วิธีรับมืออาการกลัวเสียงดังให้ได้ผล

 
 
 
อีกหนึ่งปัญหาของคนเลี้ยงสุนัขนั่นก็คืออาการกลัวเสียงพลุหรือเสียงฟ้าร้องของน้องหมาที่พบเจอได้บ่อยแทบจะทุกบ้าน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลเฉลิมอย่างอย่างคริสมาตส์หรือปีใหม่ด้วยแล้ว การจุดพลุ จุดประทัด ได้นำมาซึ่งอาการหวาดกลัว จิตตก สติแตก จนทำให้สุนัขหลายๆตัวกลายเป็น สุนัขโรคจิตที่นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว ขู่ กัดเจ้าของ หรือผู้อื่นได้แบบไม่ทันตั้งตัวกันเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านี้สุนัขบางตัวที่มีอาการหวาดกลัวเสียงพลุหรือเสียงประทัดอาจจะตกใจจนหนีเตลิดหายออกจากบ้านตลอดกาล…

วันนี้โจโจ้เฮ้าจึงอยากจะนำเกร็คความรู้ดีๆในการดูแลและป้องกันสุนัขไม่ให้ตื่นตกใจกับเสียงดังอย่างพลุ ประทัด หรือเสียงฟ้าร้อง จนหนีหายออกนอกบ้านมาฝากค่ะ
 
 

สาเหตุที่สุนัขกลัวเสียงดังอย่างเสียงฟ้าร้อง เสียงพลุ หรือเสียงประทัด

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อน ว่าทำไมสุนัขต้องกลัวเหล่านั้นด้วย? โดยปกติสมรรถภาพการได้ยินของสุนัขจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และอายุ แต่ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 67 Hz-45 kHz ซึ่งเป็ช่วงความถี่สูงกกว่ามนุษย์ เล็กน้อย (มนุษย์มีพิสัยการได้ยินอยู่ระหว่าง 20 Hz-20 kHzในภาวะอุดมคติของห้องทดลอง) เพราะสุนัขได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์จึงมีโลกการได้ยินที่ต่างจากมนุษย์ เสียงที่มนุษย์ฟังแล้วรู้สึกแค่ดังเฉยๆอาจมีเสียงความถี่สูงที่ทำให้สุนัขตกใจจนวิ่งหนีไปเลย นกหวีดที่ส่งเสียงอัลตราโซนิกที่บางครั้งเรียกว่านกหวีดสุนัข สามารถใช้ฝึกสุนัข เพราะสุนัขตอบสนองต่อเสียงระดับนี้ได้ดี ในธรรมชาติสุนัขใช้การได้ยินระดับนี้เพื่อการล่าสัตว์ และหาอาหาร ส่วนสุนัขบ้านมักใช้เพื่อเฝ้าบ้าน
สุนัขบางพันธุ์มีพิสัยที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เมื่อได้ยินเสียง สุนัขจะขยับใบหูไปทางแหล่งเสียงเพื่อให้ได้ยินชัดที่สุด หูสุนัขจึงมีกล้ามเนื้ออย่างน้อย 18 มัด ซึ่งทำให้เอียงหูและหมุนหูได้ รูปร่างของหูยังช่วยให้ได้ยินเสียงดีขึ้น สุนัขบางสายพันธุ์มีหูตั้งตรงหรือตั้งโค้ง ซึ่งช่วยส่งและขยายเสียง

กฏเหล็กในการรับมือกับอาการหวาดกลัวเสียงดังของสุนัข

"ห้ามปลอบ ห้ามโอ๋ ห้ามกอด ห้ามใช้เสียง2 ห้ามสัมผัสแบบปลอบประโลมโดยเด็ดขาด"
 
 

วิธีรับมือกับอาการหวาดกลัวเสียงดังของสุนัข


ฝึกสุนัขให้เข้มแข็ง

สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับพฤติกรรมสุนัข คือ เจ้าของต้องไม่คิดแทนสุนัข เช่น "อุ๊ยยยยยย...ฝนตก ฟ้าร้อง เดี๋ยวลูกจะกลัวไหม โอ๋ๆๆๆ ไม่กลัวน้าาาาค้าาา" แล้วก็นั่งอุ้มนั่งกอดปลอบเค้า หรือตัวเจ้าของตกใจเอง กลัวเอง เป็นต้น เจ้าของต้องทำเหมือนไม่มีไรเกิดขึ้น ถ้าเค้ากลัวก็บอกไปในโทนเสียงเรียบๆว่า ไม่เห็นมีอะไรเลย หรือไม่มีไร เก่งๆ พร้อมตบไหล่เบาๆ แบบแมนๆ ไปเลย
 
 
 
 

ป้องกันอาการหวาดกลัวจนหนีกระเจิงด้วยสายจูงสุนัข

เริ่มฝึกโดยการหาสายจูงมาใส่ไว้ เพื่อกันไม่ให้เค้าสามารถวิ่งกระจาย หรือไปหลบ มุดใต้โต๊ะ ใต้โซฟา หรือซุกมุมตามมุมประจำที่เค้าสร้างไว้เป็น Safe Zone ถ้าเค้าหลุดเข้าไป พยายามพาเค้าออกมา ให้ขนมเป็นรางวัล แต่ห้ามให้กระโดดขึ้นบนตักหรือปลอบประโลม ห้ามทำอะไรที่ทำให้เค้าเข้าใจว่าเราเห็นด้วยกับการกระทำนี้เด็ดขาด
 
 
 
 

เสริมความมั่นใจให้สุนัขด้วยการฝึกท่านอนตะแคง

การเพิ่มความมั่นใจให้สุนัขสามารถทำได้โดยการฝึกท่าพื้นฐานง่ายๆ เช่น ท่านอนตะแคง ท่านี้เป้นท่าที่สุนัขจะทำต่อเมื่อผ่อนคลาย สบายใจ หรือต้องการอ้อนเจ้าของเท่านั้น การฝึกให้เค้าทำท่านี้บ่อยๆ เป็นการสร้างความเชื่อใจให้เค้ารู้จักผ่อนคลายเวลามีเสียงดัง เวลาฝึกลองใช้เสียงแปลกๆประกอบการฝึก อาจให้ใครแกล้งทำเสียงดังประกอบ หรือใช้วิธีอัดเสียงฟ้งร้อง เสียงพลุ หรือเสียงประทัดมาเปิดเพื่อใช้ในการฝึก โดยเจ้าของต้องให้สุนัขคงอยู่ในท่านอน แล้วผ่อนคลายเค้าด้วยการเกา หรือนวดไปด้วย
 
 

สร้างความเคยชินกับเสียงเจ้าปัญหา

สร้างความคุ้นชินกับเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า เสียงจุดพลุ หรือเสียงจุดประทัด ด้วยการเปิดเสียงเหล่านี้ให้เค้าฟัง โดยเริ่มจากระดับเสียงที่เบาๆ แล้วจึงเพิ่มให้ดัง สลับเพลง ทำแบบนี้ซ้ำๆ เรื่อยๆ ในช่วงแรกของการฝึกควรเริ่มฝึกในห้องที่ปิดสนทเพื่อป้องกันสุนัขตกใจจนหนีเตลิด เมื่อต้องเจอกับสถานะการณ์จริง สุนัขก็จะไม่แสดงอาการตื่นกลัว หรือวิ่งหนีเข้ามุมจนหนีกระเจิงอีกแล้วล่ะค่ะ
 
 

คลายกังวลจากอาการกลัวเสียงดังด้วยสัมผัสบำบัด

แม่สุนัขจะใช้ลิ้นเลีย ดุล สุนัขแรกเกิดอย่างอ่อนโยน ความอุ่ และน้ำหนักบนลิ้นของแม่สุนัขจะช่วยคลายกังวลได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่สุนัขจะชื่นชอบการสัมผัส การสัมผัสจะช่วยให้สุนัขสงบลงได้ และรู้สึกมั่นคง สัมผัสที่จะช่วยให้สุนัขคลายความกังวลคือให้วางมือบริเวณไหล่หรือหน้าอกนิ่ง ๆ โดยที่ตัวคุณเองก็จะต้องนิ่งและสงบเช่นกัน หากคุณเผลอแสดงการหวาดกลัวหรือแสดงอาการสงสารสุนัข อาจจะยิ่งเป็นการไปกระตุ้นให้สุนัขหวาดกลัวและตกใจมากกว่าเดิมได้
 
 
 
 

ลดความตื่นกลัวของสุนัขด้วยการออกกำลังกาย

ในกรณีที่เราสามารถคาดเดาได้ว่าจะมีเสียงดังเกิดขึ้น เช่น การจุดพลุ หรือ จุดประทัด ควรพาสุนัขไปออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน เช่น วิ่ง หรือ ว่ายน้ำ หากได้ยินเสียงดังจะทำให้สุนัขเหนื่อย สงบ และความคุมตัวเองได้ดีมากขึ้นเนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการออกกำลังกายแล้วนั่นเอง
 
 

ปรึกษาสัตวแพทย์

หากลองทุกวิธีที่บอกมาแล้วยังไม่ได้ผล ลองปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับพฤติกรรม คุณหมออาจจะมองลึกลงไปในเรื่องระบบประสาท ความผิดปกติอื่นๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ หรือการให้ยาคลายเครียด หรือาจพึ่งพาแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การนวดคลายเครียด แตอย่าพาสุนัขไปสปานะ เพราะสุนัขอาจเกิดอาการแพ้เพราะกลิ่นน้ำหอมแรงๆ ทำให้ขนร่วง หรือเกิดอาการคัน บวม แดงได้

ใครที่เลี้ยงสุนัขแล้วมักจะเจอกับปัญหาสุนัขหวาดกลัวเสียงดังบ่อยๆ ลองเอาเทคนิคที่โจโจ้เฮ้าเอามาฝากไปลองปรับใช้กันดูนะคะ หวังว่าเกร็ดความรู้ดีๆวันนี้จะช่วยให้สุนัขและเจ้าของสุนัขหลายๆคนมีโอกาสได้อยู่ด้วยกันต่อไปมากขึ้น หวังว่าจำนวนสุนัขที่ตกใจกลัวเสียงดังจนหนีเตลิดออกจากบ้านจนต้องกลายเป็นสุนัขจรจัดและเสียชีวิตจะลดลง หวังว่าความสุขของคนเลี้ยงสุนัขทุกคนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ บทความต่อไปโจโจ้เฮ้าจะมีเคล็ดลับดีๆอะไรมากฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
ติดตาม น้องหมากลัวเสียงฟ้าร้อง เสียงพลุ เสียงประทัด ทําไงดี? 7 วิธีรับมืออาการกลัวเสียงดังให้ได้ผล เวอชั่นวีดีโอได้ที่นี่
 

Pin It on Pinterest